เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺยาปาโท ได้แก่ ความวิบัติ ความละปกติแห่งจิต
เหมือนความวิบัติแห่งอาหาร (อาหารบูด). บทว่า พฺยาปาโท นี้เป็น
ชื่อแห่งพยาปาทนิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว อย่างนี้ว่า ในนิวรณ์
เหล่านั้น พยาปาทนิวรณ์เป็นไฉน ? คือความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้
ได้ทำความฉิบหายแก่เรา.

บทว่า ปฏิฆนิมิตฺตํ ได้แก่ นิมิตที่ไม่น่าปรารถนา คำว่า
ปฏิฆนิมิตฺตํ นี้ เป็นชื่อของปฏิฆจิต ความแค้นเคืองก็มี เป็นชื่อของอารมณ์
ที่ทำให้แค้นเคืองก็มี สมจริงดังคำที่พระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้ใน
อรรถกถาว่า แม้ปฏิฆจิต ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต แม้ธรรมที่เป็นอารมณ์ของ
ปฏิฆจิต ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ในกามฉันท์นั่นแล. ในปฏิฆนิวรณ์นี้ฉันใด แม้ในนิวรณ์อื่นจากนี้
ก็ฉันนั้น. ก็ในสูตรนั้น ๆ ข้าพเจ้าจักกล่าวเพียงข้อแปลกกันเท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ถีนมิทฺธํ ได้แก่ ถีนะ และมิทธะ ใน 2 อย่างนั้น ภาวะ
ที่จิตไม่ควรแก่การงานชื่อว่า ถีนะ คำว่า ถีนะ นี้ เป็นชื่อของความเกียจ
คร้าน. ภาวะที่ขันธ์ทั้ง 3 ไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า มิทธะ. คำว่า
มิทธะ นี้ เป็นชื่อของความโงกง่วง ดุจความโงกง่วงของลิง เป็น
ธรรมชาติกลับกลอก. พึงทราบความพิสดารแห่งถีนะและมิทธะ
ทั้ง 2 นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ในถีนะและมิทธะทั้ง 2 นั้น ถีนะ
เป็นไฉน ? ภาวะที่จิตไม่เหมาะไม่ควรแก่การงาน หย่อนยาน ท้อแท้
ชื่อว่า ถีนะ ในถีนะและมิทธะทั้ง 2 นั้น มิทธะเป็นไฉน ? ภาวะที่กาย
ไม่เหมาะ ไม่ควรแก่การงาน โงกง่วง ชื่อว่า มิทธะ

บทว่า อรติ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่จำแนกไว้แล้วในวิภังค์
นั่นแล สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น อรติ
เป็นไฉน ? ความไม่ยินดี ภาวะที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง ความไม่
อภิรมย์ ความเอือมระอา ความหวาด ในเสนาสนะอันสงัด หรือ
ในอธิกุศลธรรมอย่างอื่น ๆ นี้เรียกว่า อรติ บรรดาธรรมเหล่านั้น
ตนฺทิ ความเกียจคร้านเป็นไฉน ? ความเกียจ ความคร้าน ความ
ใส่ใจในความคร้าน ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ภาวะแห่ง
ผู้เกียจคร้าน นี้ท่านเรียกว่า ตันทิ บรรดาธรรมเหล่านั้น ความบิด-
กายเป็นไฉน ? ความบิด ความเอี้ยว ความน้อมไป ความโน้มมาค้อมไป
ค้อมมา ความบิดเบี้ยว นี้ เรียกว่า วิชัมภิกา. บรรดาธรรมเหล่านั้น